focus

Emergency Alert ระบบเตือนภัยฉุกเฉินที่หลายประเทศใช้ แต่ไทย…

12/09/2020 - korseries

Emergency Alert

หลังจากที่ได้ดูภาพยนตร์ซอมบี้เกาหลี #ALIVE จบไป หลายคนได้ให้ความสนใจฉากที่ตัวละครหลักของเรื่องได้รับข้อความแจ้งเตือนฉุกเฉิน (Emergency Alert) เด้งบน iphone ในขณะที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ไม่คาดคิดที่เกิดเหตุมีผู้ติดเชื้อจนกลายร่างเป็นซอมบี้เต็มไปทั่วเมือง บางคนที่ไม่รู้จักอาจเกิดคำถามว่านี่มันเกินจริงหรือเปล่า สำหรับบทความนี้ เราจะขอข้ามการพูดถึงตัวเรื่องไป แล้วพาทุกคนมาทำความรู้จัก Emergency Alert กันว่าคืออะไร~ ส่วนถ้าหากใครอยากอ่านรีวิวภาพยนตร์ #ALIVE สามารถเข้าอ่าน ที่นี่ ได้

Emergency Alert คืออะไร
#ALIVE ยูอาอิน
#ALIVE

Emergency Alert หรือ Emergency Alert System (EAS) เป็นระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน และ ข้อความแจ้งเตือนจากรัฐบาล ซึ่งได้มีการใช้งานเป็นระบบเตือนภัยสาธารณะแห่งชาติ (National Public Warning System) ในหลายประเทศด้วยกัน ซึ่งทางหน่วยงานภาครัฐจะทำการส่งข้อความแจ้งเตือนตามตำแหน่งที่ตั้งของประชากรในประเทศ ผ่านระบบที่เรียกว่า ‘Cell Broadcast’ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนหมู่มากได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยข้อความแจ้งเตือนดังกล่าวจะส่งตรงถึงโทรศัพท์มือถือประชาชนโดย ‘ไม่จำเป็น’ ว่ามือถือเครื่องนั้นจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือไม่

พอได้ลองหาข้อมูล พบว่าแต่ละประเทศได้ใช้ชื่อเรียกระบบเตือนภัยที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ประเทศในแถบเอเชีย มีใช้ใน ญี่ปุ่น : J-Alert / เกาหลีใต้ : Korean Public Alert Service / ไต้หวัน : Public Warning System / ฟิลิปปินส์ Emergency Cell Broadcast System : ECBS และ ใช่แล้วค่ะ ยังไม่มีการใช้งานในไทย แม้ว่าจะโทรศัพท์มือถือโดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะรองรับการใช้งานนี้แล้วก็ตาม

National Public Warning System
ข้อมูลจาก Wikipedia , https://en.wikipedia.org/wiki/Emergency_Mobile_Alert

สำหรับใครที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ อย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือว่า เกาหลีใต้ บางคนอาจจะเคยได้รับข้อความแจ้งเตือนเด้งขึ้นมา ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ใช้ซิมของประเทศนั้น ๆ เลยด้วยซ้ำ อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจาก Emergency Alert แล้วยังมีการใช้ระบบที่เรียกว่า AMBER Alert เพื่อแจ้งเตือนเด็กหายในบริเวณใกล้เคียงที่เกิดเหตุ เพื่อประกาศให้ประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาตามหาคนร้ายพร้อมระบุข้อมูลเบื้องต้น หรือ ในประเทศเกาหลีใต้ หากมีเหตุฉุกเฉินใด ๆ เช่น ไฟป่า ฝนตกหนัก น้ำท่วม ระดับฝุ่นละออง PM 2.5 สูง ภาวะความร้อน โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งข้อความแจ้งเตือนเรียลไทม์ ซึ่งแน่นอนว่าการที่ได้รับข้อความแจ้งเตือนผ่านระบบ Emergency Alert ทำให้ประชาชนในประเทศได้รับทราบข้อมูลที่ ‘ถูกต้อง’ และ ‘ทั่วถึง’ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา

emergency alert messages

ระหว่างที่ลองหาข้อมูลไปเรื่อย ๆ ก็ได้พบว่า จริง ๆ แล้วในไทยมีการแจ้งเตือนอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่ระบบแจ้งเตือนแบบที่หลายประเทศใช้ แต่เป็นการแจ้งเตือนโดยให้ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น ‘Thailand Alerts’ แต่ก็ใช่ว่าแอปพลิเคชั่นนี้จะติดมากับโทรศัพท์มือถือทุกเครื่อง ซ้ำยังไม่มีการอัปเดตข้อความใด ๆ หลังจากที่ดาวน์โหลดมาใช้ได้ 2 วัน…

อ้างอิงจากรายงานจากเว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ระบุไว้ว่า กรมอุตุนิยมวิทยา และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ลงนาม MOU ร่วมกับ ทรูมูฟ เอช เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมปี 2020 ที่ผ่านมา เพื่อยกระดับการเตือนภัย ด้วยการส่งข้อมูลแจ้งข่าวสาร แจ้งเตือนภัยธรรมชาติ ผ่านระบบ SMS โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้กับประชาชนรวมไปถึงนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามยังไม่มีการแจ้งอย่างชัดเจนว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการใช้งานจริงเมื่อใด หวังว่าในอนาคตอันใกล้ คงจะดีไม่น้อย ถ้าหากว่ามีการใช้งานระบบ Emergency Alert ที่สามารถแจ้งเตือนได้อย่างทั่วถึงในบ้านเราอย่างจริงจังเสียที

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้อมกอดผีเสื้อ ฉากไฮไลท์ในซีรีส์ It’s Okay to Not Be Okay ที่มาพร้อมวิธีเยียวยาหัวใจตัวเอง

เกร็ดความรู้ซีรีส์ Voice | ถอดรหัส ทำไมต้องใช้ CODE ZERO ..สิ่งนี้คืออะไร ?!

Crash Landing on You | ทำความรู้จัก DMZ เส้นขนานที่ 38 และ พันมุนจอม พรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือ-ใต้

เกร็ดความรู้ซีรีส์ Itaewon Class ทำความรู้จักย่านอิแทวอนให้มากขึ้นกัน!

ติดตามข่าวสารและสิ่งที่น่าสนใจจากเราได้ที่
Facebook Fanpage
 : facebook.com/korseries
Twitter
 : twitter.com/korseries
Website
 : korseries.com
Youtube 
: Korseries

ขอความกรุณาไม่คัดลอก-ดัดแปลงบทความไปโพสต์ลงในเพจ-สำนักข่าวอื่น รวมถึงไม่นำบทความไปอ่านลง YouTube หรือแพลตฟอร์มใด ๆ โปรดช่วยแชร์เป็นลิ้งก์นะคะ ♡

Source (1) (2) (3) (4)


Korupdate






เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก